Category Archives: สุขภาพ

ร้านขายอุปกรณ์ การแพทย์ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ใกล้บ้านคุณ

ทำไมการเลือกซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ถึงต้องใส่ใจกว่าการซื้อสินค้าแบบอื่น

การใช้อุปกรณ์การแพทย์ผิดประเภท หรือเลือกสินค้าที่ไม่มีมาตรฐาน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ เช่น ข้อมูลวัดค่าที่คลาดเคลื่อน สินค้าชำรุดระหว่างใช้งาน หรือแย่ที่สุดคืออาจเกิดอันตรายกับผู้ใช้งานโดยตรง ดังนั้น การค้นหาแหล่ง ขายอุปกรณ์ การแพทย์ จึงควรเน้นที่ คุณภาพสินค้า ความน่าเชื่อถือของร้าน และการให้คำแนะนำจากผู้มีความรู้ ไม่ใช่เพียงแค่ดูจากราคาเท่านั้น

ร้านขายอุปกรณ์ การแพทย์ที่ดีต้องมีอะไรบ้าง

  • ได้รับใบอนุญาตประกอบการและต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข หรือ อย. ซึ่งจะรับประกันได้ว่าสินค้าถูกต้องตามมาตรฐาน
  • สินค้าแม้ว่ามาจากต่างประเทศก็ควรที่จะต้องมีฉลากไทยและได้รับใบรับรองคุณภาพ
  • ควรมีแพทย์หรือเภสัชผู้เชี่ยวชาญควรให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาอยู่เสมอ
  • มีทั้งสินค้าที่ครบครันและสามารถขายได้ทั้งปลีกและส่ง ให้โอกาสสำหรับธุรกิจรายย่อย

ร้านค้าใกล้บ้านสำคัญอย่างไร

แม้ว่าการซื้อของออนไลน์จะสะดวกและรวดเร็ว แต่สำหรับอุปกรณ์การแพทย์ที่ต้องการความแม่นยำ หรือใช้งานเฉพาะทาง การได้ เห็นของจริง พูดคุยกับพนักงาน และรับของทันที คือข้อที่ได้เปรียบมากกว่าการสั่งซื้อสินค้าจากออนไลน์ที่ไม่ควรมองข้าม โดยที่ส่วนมากมักจะค้นหาใน Google ว่า ขาย อุปกรณ์ การ แพทย์ ใกล้ ฉัน เพื่อค้นหาร้านขายอุปกรณ์ การแพทย์ที่อยู่ใกล้ละแวกบ้านมากที่สุด โดยมีเหตุผลหลายประการดังนี้

  • ต้องการได้รับสินค้าที่ด่วนที่สุด โดยไม่ต้องรอการจัดส่ง
  • ต้องการทดลองซื้อสินค้ามาใช้ก่อน แล้วค่อยสั่งภายหลังในปริมาณที่มากขึ้น
  • ต้องการศึกษาการใช้งานโดยละเอียด เพราะหายสั่งจากออนไลน์ ไม่มีใครคอยให้คำแนะนำและรายละเอียดที่ชัดเจน
  • ต้องการบริการหลังการขายที่สามารถติดต่อได้โดยง่าย หากสินค้ามีปัญหาหรือต้องการได้รับคำแนะนำเพิ่มเติม

เคล็ดลับการเลือกซื้อสินค้าจากร้านขายอุปกรณ์ การแพทย์ ให้คุ้มค่าที่สุด

  • อย่าพึ่งรีบซื้อทันที ควรเปรียบเทียบราคาหลาย ๆ ร้าน เพื่อให้ได้ร้านที่ดีที่สุด และขายสินค้าราคาดีที่สุด
  • ควรตรวจสอบสินค้าว่าเป็นของแท้ มีการรับประกันสินค้า
  • ดูรีวิวจากลูกค้าในพื้นที่เพื่อเพิ่มความมั่นใจ
  • สอบถามว่ามีบริการส่งถึงบ้านหรือไม่ เผื่อมีเหตุฉุกเฉินจะสามารถติดต่อร้านขายอุปกรณ์ การแพทย์ได้

ข้อควรระวังในการสั่งซื้ออุปกรณ์ทางแพทย์จากร้านค้าออนไลน์

  • ไม่ควรสั่งซื้อสินค้าจากร้านที่ไม่มีที่อยู่ หรือข้อมูลในการติดต่ออย่างชัดเจน
  • ควรซื้อสินค้าที่มีอย. และมีฉลากไทย
  • หากสินค้ามีราคาถูกกว่าปกติ ให้ตั้งข้อสงสัยว่าอาจเป็นของที่ไม่มีคุณภาพ หมดอายุ หรือเป็นของปลอม
  • ไม่ควรซื้อสินค้าจากร้านค้าไม่มีบริการเปลี่ยนสินค้าหากซื้อผิด

สรุป

การดูแลสุขภาพไม่ใช่เรื่องของการเดินทางไปที่โรงพยาบาลหรือคลินิกอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องที่ทุกบ้านและทุกคนควรใส่ใจ การมีร้านขายอุปกรณ์ การแพทย์ที่สามารถมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานอยู่ใกล้บ้าน ถือเป็นการป้องกันและเตรียมตัวที่ดี ในการรับมือเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

ขาเป็นตะคริวบ่อยเกิดจากอะไร?

ตะคริวคืออะไร

ตะคริว คือ อาการที่กล้ามเนื้อเกิดการหดตัวเป็นก้อนแข็งอย่างเฉียบพลัน มักเกิดหลังจากที่ผ่านการทำกิจกรรมบริเวณนั้น ๆ หนักจนเกินไป แต่อาการตะคริวนั้นสามารถหายไปได้เองเมื่อผ่านไประยะหนึ่ง ตะคริวสามารถเกิดได้หลายครั้งต่อวัน และสามารถเกิดได้หลายส่วนตามร่างกาย เช่น แขน ขา หรือนิ้วเท้า

เป็นตะคริวบ่อย เกิดจากอะไร

การเป็นตะคริวบ่อยสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุดังนี้

  • การใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ มากจนเกินไป เช่น การออกกำลังกายมัดกล้ามเนื้อบริเวณเดิม ๆ ซ้ำ ๆ โดยไม่ได้ยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย
  • การขาดน้ำและเกลือแร่ เมื่อดื่มน้ำน้อยแต่เสียเหงื่อมากจะทำให้ร่างกายเสียแร่ธาตุสำคัญในร่างกาย เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม และ โซเดียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในการทำงานของกล้ามเนื้อทำให้เกิดการเป็นตะคริว
  • การไหลเวียนเลือดไม่ดี เช่น การยืนนาน ๆ การกดทับส่วนนั้นเป็นเวลานาน จนทำให้เลือดบริเวณกล้ามเนื้อส่วนนั้นไม่เพียงพอ
  • อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไวเกิดไป เช่น การลงไปเล่นน้ำเย็นจัด หรือว่ายน้ำที่เย็นจัด ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวอย่างรวดเร็ว
  • ความผิดปกติของเส้นประสาท เช่น โรคปลายประสาทอักเสบหรือเส้นประสาทถูกกดทับ
  • การตั้งครรภ์ จะเกิดตะคริวได้ง่าย เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และความต้องการแร่ธาตุที่สูงขึ้น
  • การใช้ยาบางชนิดที่ทำให้แร่ธาตุในร่างกายเกิดเสียสมดุลขึ้น เช่น ยาขับปัสสาวะ หรือยาลดไขมันบางชนิด

ขาเป็นตะคริวบ่อยเกิดจากอะไร

  • ใช้กล้ามเนื้อบริเวณขามากเกินไป โดยที่ไม่ได้ยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย
  • ขาดแร่ธาตุสำคัญที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม โพแทสเซียม และโซเดียม
  • การไหลเวียนเลือดไม่ดี ไม่ว่าจากการยืนนาน หรือนั่งนาน ยังสามารถเกิดจากเป็นโรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบ หรือผู้ที่มีเส้นเลือดขอด
  • การนอนผิดท่า ส่วนใหญ่มักจะเป็นในตอนที่นอนแล้วขาตึงมากเกินไป หรือนอนแล้วขางอมากเกินไป
  • ผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นมวลกล้ามเนื้อก็จะลดลง ทำให้เป็นตะคริวได้ง่าย

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดการเป็นตะคริว

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน
  • เสริมแร่ธาตุสำคัญโดยเฉพาะ แมกนีเซียม และโพแทสเซียม
  • ยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป
  • ปรับเปลี่ยนทานอนให้ปลายเท้าไม่เหยียดยืดมากเกินไป
  • สวมถุงน่องพยุงกล้ามเนื้อสำหรับผู้ที่ยืนนาน ๆ

วิธีรับมือเมื่อเป็นตะคริว

  1. รีบยืดกล้ามเนื้อส่วนที่เป็นตะคริวทันที
  2. ประคบร้อนเมื่อเกิดการเป็นตะคริว และประคบเย็นเมื่อปวดมากหรือเกิดเป็นซ้ำ
  3. กดนวดวน ๆ บริเวณที่เป็นตะคริว
  4. หายใจเข้าลึก ๆ และผ่อนคลาย
  5. ค่อย ๆ ลุกเดินช้า ๆ เมื่ออาการดีขึ้น

สรุป

เป็นตะคริวบ่อย เกิดจากอะไร คือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อมาก ๆ หรือขาดแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อ เช่น แมกนีเซียม และ โพแทสเซียม อาการเป็นตะคริวสามารถหายไปได้เองเมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง แต่หากมีอาการเป็นตะคริวก็สามารถมีวิธีช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ทางที่ดีควรป้องกันไม่ให้เกิดการเป็นตะคริวไว้จะดีที่สุด

เลือกซื้ออุปกรณ์การแพทย์อย่างไร ให้ปลอดภัยและได้ของแท้?

อุปกรณ์ทางการแพทย์ มีอะไรบ้าง?

อุปกรณ์ทางการแพทย์ในโรงพยาบาลหรือโรงเรียนแพทย์ ส่วนใหญ่จะแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน แต่สำหรับการเลือกซื้อและนำมาใช้งาน เรานิยมแบ่งกันตามกลุ่มผู้ใช้งานหรือลักษณะสถานประกอบการทางการแพทย์ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1.อุปกรณ์การแพทย์สำหรับบ้าน

เป็นอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้สำหรับผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวภายในบ้านหรือสถานที่อื่นๆ  ที่ผู้ป่วยหรือบุคคลทั่วไปสามารถใช้งานอุปกรณ์/เครื่องมือทางการแพทย์ได้โดยไม่ต้องเป็นบุคลากรการแพทย์

2.อุปกรณ์การแพทย์สำหรับคลินิก

เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับในคลินิก สำหรับประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และครอบคลุมทุกจุดประสงค์ของการใช้งานเครื่องมือแพทย์ แต่จะไม่ใช่เครื่องมือขั้นสูงสำหรับการรักษา ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือที่ใช้งานเฉพาะด้าน

โดยสามารถแบ่งประเภทของอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับคลินิกได้ดังนี้

  • อุปกรณ์ทันตกรรม
  • อุปกรณ์ศัลยกรรม
  • อุปกรณ์สัตวแพทย์
  • อุปกรณ์เสริมความงาม

3.อุปกรณ์การแพทย์สำหรับโรงพยาบาล

เป็น อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในโรงพยาบาล ประกอบไปด้วยอุปกรณ์การแพทย์และเครื่องมือแพทย์ทุกจุดประสงค์ ได้แก่ เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัย เครื่องมือแพทย์เพื่อการรักษา เครื่องมือแพทย์เพื่อการดำรงชีวิต เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อเฝ้าติดตาม และเครื่องมือการแพทย์ทางพยาธิ โดยมีตั้งแต่เครื่องมือแพทย์ทั่วไปจนถึงอุปกรณ์และเครื่องมือขั้นสูง

วิธีเลือกเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์

  • เลือกตามความจำเป็นและความเหมาะสมตามลักษณะการใช้งาน

หากต้องการเพียงอุปกรณ์สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือเครื่องตรวจวัดสุขภาพสำหรับในครอบครัว ให้เลือกอุปกรณ์ในขนาดที่พอเหมาะกับการใช้งาน หรือถ้าเป็นคลินิกเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับวิธีการรักษาและภาวะของผู้เข้ารับบริการ

  • เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต้องมีประกัน

นอกเหนือจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ดีใช้ทั่วไปแล้ว เครื่องมือแพทย์ควรจะต้องมีประกันทุกชิ้นเช่น เดียวกับการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า การที่เครื่องมือแพทย์มีประกัน คือสิ่งที่ช่วยยืนยันว่า เป็นเครื่องมือที่มาจากผู้ผลิตหรือบริษัทจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ที่เชื่อถือได้และเป็นของแท้

สรุป ร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ เป็นสถานที่หรือธุรกิจที่จำหน่ายเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สำหรับในการรักษาในคลินิก โรงพยาบาล หรือที่บ้านที่มีผู้ป่วย และร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ในปัจจุบันมีช่องทางการจัดจำหน่ายหลายแห่ง เพิ่มความสะดวกสะบายให้กับผู้ซื้อเป็นอย่างมาก มีทั้งหน้าร้าน และร้านออนไลน์ บริการส่งตรงถึงหน้าบ้าน ช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลเข้าถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปยังสถานพยาบาลทุกครั้งที่ต้องการ

หยุดคัน หยุดรำคาญ ด้วยการเลือกใช้แชมพูแก้คันให้ตรงจุด

อาการคันหนังศีรษะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณระคายเคืองระหว่างวัน และอาจสร้างความอับอายให้กับคุณได้ ผู้คนส่วนใหญ่อาจคิดว่ามีอะไรอยู่บนหัวคุณ แต่ปัญหาอาการคันหัวหรือคันหนังศีรษะมีหลายวิธีที่ใช้แก้ได้ ซึ่งสาเหตุหลักๆ ของอาการคันหนังศีรษะมีดังนี้

สาเหตุของอาการคันหนังศีรษะ

อาการคันหนังศีรษะสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย

  • หนังศีรษะแห้ง – เกิดจากอากาศแห้ง การสระผมบ่อยเกินไป หรือการใช้แชมพูที่แรงเกินไป
  • รังแค (Dandruff) – มักเกิดจากเชื้อราบนหนังศีรษะ ทำให้เกิดขุยขาวและอาการคัน
  • หนังศีรษะมันเกินไป – น้ำมันที่สะสมบนหนังศีรษะมากเกินไปอาจทำให้เกิดการอุดตันและระคายเคือง
  • เชื้อราและโรคผิวหนัง – เช่น เชื้อรา Malassezia, โรคสะเก็ดเงิน, โรคผิวหนังอักเสบ
  • เหา (Head Lice) – แมลงที่อาศัยอยู่บนหนังศีรษะและทำให้คันมาก
  • อาการแพ้ (Allergic Reactions) – แพ้สารเคมีในแชมพู น้ำยาย้อมผม หรือผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม
  • ความเครียดและฮอร์โมน – ความเครียดสามารถกระตุ้นให้หนังศีรษะเกิดอาการคันได้

วิธีป้องกันและแก้ไขอาการคันหนังศีรษะ

  • หลีกเลี่ยงการสระผมบ่อยเกินไป – ควรสระผม 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ (หรือบ่อยขึ้นถ้าหนังศีรษะมันมาก)
  • ใช้แชมพูที่อ่อนโยน – หลีกเลี่ยงแชมพูที่มี ซัลเฟต (SLS/SLES), พาราเบน และแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่นจัด – น้ำอุ่นมากอาจทำให้หนังศีรษะแห้งและคัน
  • หลีกเลี่ยงสารเคมีที่ระคายเคือง – เช่น น้ำยาย้อมผม น้ำยาดัดผม
  • บำรุงหนังศีรษะด้วยน้ำมันธรรมชาติ – เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันทีทรี
  • นวดหนังศีรษะเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต – ช่วยลดความแห้งและอาการคัน
  • ดูแลสุขภาพจากภายใน – ดื่มน้ำเยอะๆ รับประทานอาหารที่มี โอเมก้า 3, วิตามิน B, ซิงค์ และโปรตีน
  • ถ้าเป็นรังแคหรือเชื้อรา – ควรใช้แชมพูที่มี สารขจัดรังแค เช่น Ketoconazole, Selenium Sulfide, Zinc Pyrithione
  • ถ้ามีอาการรุนแรงหรือไม่หายขาด – ควรพบแพทย์ผิวหนัง

วิธีเลือกแชมพูแก้คันหนังศีรษะให้ถูกต้อง

  • ถ้าหนังศีรษะแห้ง → เลือกแชมพูที่มี มอยส์เจอไรเซอร์ เช่น น้ำมันมะพร้าว, อโลเวรา
  • ถ้ามีรังแค → เลือกแชมพูที่มี Zinc Pyrithione, Ketoconazole, Selenium Sulfide
  • ถ้าหนังศีรษะมัน → เลือกแชมพูที่มี Salicylic Acid หรือ Tea Tree Oil ช่วยขจัดน้ำมันส่วนเกิน
  • ถ้ามีอาการแพ้หรือระคายเคืองง่าย → เลือกแชมพู สูตรอ่อนโยน (Sulfate-Free, Paraben-Free, Fragrance-Free)
  • ถ้ามีปัญหาเชื้อรา → เลือกแชมพูที่มี Ketoconazole หรือ Tea Tree Oil
  • ถ้ามีอาการคันจากความเครียดหรือแพ้สารเคมี → เลือกแชมพูที่มี Chamomile, Aloe Vera, Peppermint ช่วยปลอบประโลมหนังศีรษะ

เคล็ดลับเพิ่มเติม

  • สามารถใช้ น้ำมันมะพร้าว หมักผมก่อนสระเพื่อช่วยลดอาการคัน
  • ล้างแชมพูออกให้หมด อย่าให้มีสารตกค้าง
  • หลีกเลี่ยงการใช้สเปรย์แต่งผม เจล หรือแว็กซ์ที่อาจอุดตันหนังศีรษะ

สรุป

อาการคันหนังศีรษะมีหลายสาเหตุ ควรเลือกวิธีดูแลที่เหมาะสม และเลือกใช้แชมพูแก้คันหนังศีรษะให้ถูกต้อง ถ้าคันเล็กน้อยอาจใช้แชมพูอ่อนโยนหรือบำรุงด้วยน้ำมันมะพร้าว แต่ถ้ามีอาการรุนแรงควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาที่ถูกต้อง

แชร์วิธีแก้ช่องคลอดแห้งสำหรับสาวๆ โดยเฉพาะ

แก้ช่องคลอดแห้ง

ช่องคลอดแห้งเป็นปัญหาที่พบได้ในผู้หญิงหลายช่วงวัย โดยเฉพาะช่วงวัยหมดประจำเดือนหรือในบางสถานการณ์ที่ร่างกายมีฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง วิธีแก้ช่องคลอดแห้งมีหลากหลาย ดังนี้

 

  1. ใช้สารหล่อลื่น (Lubricants)

  • ใช้สารหล่อลื่นแบบน้ำหรือซิลิโคนเฉพาะจุดก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • แนะนำให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำหอมและสารก่อการระคายเคือง

 

  1. ใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นช่องคลอด (Vaginal Moisturizers)

  • เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในระยะยาว
  • ใช้เป็นประจำ เช่น 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์

 

  1. การใช้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Therapy)

  • ฮอร์โมนเฉพาะที่: ครีมเอสโตรเจน, วงแหวนฮอร์โมน (Vaginal Ring), หรือเม็ดใส่ในช่องคลอด (Vaginal Tablet)
  • ฮอร์โมนแบบระบบ: การรับประทานหรือแปะแผ่นฮอร์โมนเพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนทั่วร่างกาย

ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเหมาะสม

 

  1. เทคนิคทางการแพทย์ (Medical Procedures)

  • เลเซอร์ช่องคลอด (Vaginal Laser Treatment)

กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในผนังช่องคลอด

ช่วยให้ผิวหนังบริเวณช่องคลอดมีความยืดหยุ่นและชุ่มชื้นมากขึ้น

  • PRP (Platelet-Rich Plasma)

ฉีดเกล็ดเลือดเข้าบริเวณผนังช่องคลอดเพื่อฟื้นฟูเซลล์

 

  1. เพิ่มความชุ่มชื้นจากภายใน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 1.5-2 ลิตร
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันดี เช่น น้ำมันปลา อะโวคาโด ถั่วต่าง ๆ
  • รับประทานอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจน เช่น ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

 

  1. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
  • หลีกเลี่ยงสบู่ที่แรงหรือมีสารเคมีที่ระคายเคืองต่อช่องคลอด
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด (Douching)
  • สวมใส่ชุดชั้นในที่ระบายอากาศได้ดีและไม่รัดแน่นเกินไป

 

  1. การออกกำลังกายสำหรับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Kegel Exercise)
  • ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณอวัยวะเพศ
  • ส่งเสริมสุขภาพของช่องคลอด

 

  1. ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
  • หากปัญหาช่องคลอดแห้งยังคงรบกวนชีวิตประจำวันหรือการมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาเฉพาะทาง

 

วิธีแก้ช่องคลอดแห้งมีหลายวิธีและการดูแลอย่างต่อเนื่องและใส่ใจสุขภาพจะช่วยลดปัญหาและเพิ่มความสบายในชีวิตประจำวันได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการมือชา เท้าชา ที่ควรรู้ไว้เพื่อหาวิธีป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

อาการชาสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบได้บ่อย คือ บริเวณมือและเท้า เช่น มือชา เท้าชา ชาปลายนิ้วมือ โดยลักษณะของอาการชาอาจเป็นได้ทั้งสูญเสียความรู้สึก รู้สึกแบบผิวหนังหนาๆ เป็นปื้นๆ หรือมีความรู้สึกที่แสดงออกมากกว่าปกติ เช่น ยิบๆ ซ่าๆ เหมือนเข็มทิ่ม ปวดแสบร้อน เสียวคล้ายไฟช็อต โดยลักษณะของอาการชาเหล่านี้ อาจเป็นอาการของโรคหรือเป็นสัญญาณแรกของโรค เช่น อาการชาจากการขาดวิตามิน จากโรคเบาหวาน และสาเหตุอื่นๆ ดังนี้

อาการมือชา เท้าชาสามารถเกิดจากหลายสาเหตุได้แก่

  1. ปัญหาทางประสาท อาการชาอาจเกิดจากการกดทับหรือการเสียหายของเส้นประสาท เช่น จากโรคริดสีดวงประสาทหลัง (herniated disc) หรือโรคปลอกประสาทอักเสบ (neuropathy) ที่เกิดจากเบาหวานหรือการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  2. การไหลเวียนของเลือดไม่ดี หากเลือดไม่ไหลเวียนไปยังบริเวณปลายมือหรือเท้าได้อย่างเพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการชา เช่น ในกรณีของโรคหลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis) หรือภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
  3. ขาดวิตามินวิตามิน บี12 วิตามิน E ทำให้เกิดอาการชา
  4. ปัญหาในกระดูกสันหลัง เช่น การอักเสบ หรือความเสียหายที่กระดูกสันหลัง อาจทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท
  5. ภาวะเครียดหรือวิตกกังวล บางครั้งอาการชาอาจเกี่ยวข้องกับความเครียดหรือภาวะวิตกกังวล ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้
  6. โรคอื่นๆ เช่น โรคไขข้ออักเสบ หรือโรคลูปัส อาจมีอาการชาเป็นหนึ่งในอาการของโรค

การป้องกันไม่ให้มีอาการมือชา เท้าชา

  1. รับประทานวิตามินบีอย่างเพียงพอ เพราะวิตามินบีมีส่วนช่วยในการทำงานของปลายประสาท ป้องกันการเกิดอาการมือเท้าชา
  2. อย่านอนทับแขน หรืออยู่ท่าเดิมนานๆ เพราะจะทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกจนก่อให้เกิดอาการชาในที่สุด
  3. ควรรับประทานผักผลไม้ เพราะผักผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายเป็นจำนวนมาก นอกจากจะช่วยลดการเกิดอาการมือเท้าชาแล้ว ยังช่วยบำรุงสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอีกด้วย
  4. ดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการมือเท้าชา เช่น โรคเบาหวาน โรครูมาตอยด์

ทั้งนี้อาการมือชา เท้าชานั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตราย และอันตราย จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคร้ายบางโรค หรือเป็นสัญญาณของภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ซึ่งอาจเสี่ยงต่ออาการอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ค่ะ